วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดศรีสะเกษ
น้ำตกห้วยจนทร์
นํ้าตกห้วยจันทร์หรือนํ้าตกกันทรอมอยู่ห่างจากอำเภอขุนหาญประมาณ 24กม.ริมทางหลวงหมายเลข 2236 เป็นนํ้าตกที่สวยงามมาก และร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดเหมาะสำหรับพักผ่อนในวันหยุด




นํ้าตกสำโรงเกียรติหรือนํ้าตกปีศาจมีต้นกำเนิดจากภูเขากันทุง บนเทือกเขาบรรทัด เป็นนํ้าตกขนาดกลาง ในฤดูฝนนํ้าตกจะสวยงามมาก การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2111 เมื่อถึงเขตอำเภอขุนหาญมีทางแยกเข้าไปอีกประมาณ 20กม.











นํ้าตกภูลอออยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านซำเม็ง ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ ห่างจากทางหลวงหมายเลข 2248 เป็นระยะทาง 4กม. เดินเท้าเข้าไปอีก 1,800เมตร จะถึงตัวนํ้าตก












น้ำตกถ้ำพระพุทธเป็นน้ำตกที่เกิดจากเขากันทุงเทือกเขาบรรทัด เป็นน้ำตกไหลจากผาหน้าถ้ำใหญ่ ไหลมาตามห้วยไปบรรจบกันที่ลำห้วยกระยุง แล้วไหลไปยังน้ำตกสำโรงเกียรติ ในบริเวณน้ำตกมีถ้ำใหญ่ บรรจุคนได้ประมาณ 2,000 คน เคยมีคนพบพระพุทธรูปองค์เล็กๆอยู่จึงตั้งชื่อว่าน้ำตกถ้ำพระพุทธ อยู่ในเขตบ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ ห่างจากอำเภอประมาณ 24 กิโลเมตร








วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว(วัดล้านขวด)ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล อ.ขุนหาญ เป็นวัดที่มีศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างในบริเวณวัดประดับตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านๆใบ มีลวดลายวิจิตรงดงามยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลาใหญ่ที่เรียกชื่อว่า"ศาลาฐานสโมสรมหาเจดีย์แก้ว" ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกวัดนี้ว่า"วัดล้านขวด"








ผามออีแดงอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ บริเวณปลายสุดของทางหลวงหมายเลข 221(สายศรีสะเกษ-กันทรลักษ์) ห่างจากตัวอำเภอลงไปทางใต้ 36กม. ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ98กม. เป็นเส้นทางเดียวที่ติดต่อกับทางขึ้นเขาพระวิหาร ทิวเขาพนมดงรักและแผ่นดินเขมรตํ่า สามารถมองเห็นปราสาทเขาพระวิหาร ในระยะใกล้เพียง 1กม. ในบริเวณผามออีแดงมีวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก และทางด้านทิศใต้ซึ่งเป็นหน้าผาที่อยู่ตํ่าลงไปจะมีภาพสลักหินนูนตํ่าศิลปะเขมร พุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระธาตุเรืองรองตั้งอยู่ที่บ้านสร้างเรือง ต.หญ้าปล้อง อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข2373(ศรีสะเกษ-อ.ราษีไศล)ประมาณ7.5กม. เป็นพระธาตุที่สร้างแบบศิลปะพื้นบ้าน สูง49เมตร แบ่งออกเป็น6ชั้น ชั้นที่1 ใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนา ชั้ที่2-3 ทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชนสี่เผ่าไทยของศรีสะเกษคือเขมร ส่วย ลาว เยอ ชั้นที่4 ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ชั้นที่5 ใช้สำหรับทำสมาธิ ชั้นที่6 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็ที่ชมทัศนียภาพของพื้นที่






สวนสมเด็จศรีนครินทร์ตั้งอยู่ในวิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ ถ.กสิกรรม ต.หนองครก อ.เมืองศรีสะเกษ มีเนื้อที่ 237ไร่ ลักษณะเป็นสวนป่าขนาดใหญ่ ที่อยู่ในเขตเมือง ประกอบด้วยดงลำดวนซึ่งเป็นพันธุ์ไม้หอม และเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของจังหวัดจำนวนกว่า40,000ต้น มีสวนสาธารณะที่ตกแต่งสวยงาม ร่มรื่น เป็นแหล่งพักผ่อนของประชาชนทั่วไป มีสวนสัตว์และมีสวนที่เป็นป่าลำดวน ซึ่งเหมาะแก่การทัศนศึกษาในเชิงพฤกษศาสตร์ในช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงเวลาที่ดอกลำดวนจะบานส่งกลิ่นหอมประทับใจแก่ผู้มาเยือน ซึ่งทางจังหวัดจะจัดงานประเพณีสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ และเทศกาลดอกลำดวนขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ด้วย

อ่างเก็บนํ้าห้วยศาลาตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักในเขต ต.โคกตาล อ.ขุขันธ์ อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปไปตามเส้นทางหมายเลข 2157 (ขุขันธ์-โคกตาล)ประมาณ 21กม.เป็นอ่างเก็บนํ้าขนาดใหญ่ที่แวดล้อมด้วยเทือกเขาและป่าไม้ เหมาะแก่การพักผ่อน นอกจากนี้บนเส้นทางห้วยศาลา หมู่บ้านโอตราวยังเป็นจุดขับรถชมทิวทัศน์ป่าไม้ และอ่างนํ้าห้วยศาลาที่งดงามอีกจุดหนึ่งด้วย






สวนสัตว์ศรีสะเกษ

สถานตากอากาศสวนสัตว์ศรีสะเกษเป็นสวนป่าเฉลิมพระเกียรติร.9 โนนหนองกว้าง ตั้งอยู่ที่ ต.นํ้าคำ อ.เมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ4กม. ไปตามเส้นทางสายศรีสะเกษ-อ.ยางชุมน้อย เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในบริเวณรอบๆสวนป่ามีสัตว์ป่าหลายชนิดให้ชมอีกด้วย ปละมีหนองนํ้ากว้างขนาดใหญ่สำหรับแข่งเรือพายพร้อมศาลาเอนกประสงค์ริมนํ้าสำหรับนั่งพักผ่อน




















ไม่มีความคิดเห็น: